ในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริและบรรลุวัตถุประสงค์ ควรจะได้ดำเนินการโดยมีหลักการสำคัญๆ คือ
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นอยู่เสมอว่า โครงการของพระองค์นั้นเป็นโครงการที่มุ่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ราษฎรกำลังประสบอยู่ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสถึงความจำเป็นนี้ว่า
“…ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก … เป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน แต่ปวดหัวใช้ยาแก้ปวด …หรือยาอะไรก็ตามแก้ปวดหัว มันไม่ได้แก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่จะคิดได้ แล้วอีกอย่างก็คือ แบบ Macro นี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย … อย่างบ้านคนอยู่ เราบอกบ้านนี้มันผุตรงโน้นผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะไปซ่อม … เอาตกลงรื้อบ้านนี้ ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่ ก็ต้องค้ำเสียก่อน แล้วค่อยๆ ดูตรงนี้ยังพออยู่ได้ … ไปรื้อตรงห้องโน้นแล้วก็ค่อยๆ สร้าง แล้วมารื้อตรงห้องนี้ …วิธีทำจะต้องค่อยๆ ทำ จะไประเบิดหมดไม่ได้…”
ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เน้นหลักมุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งต้องการแก้ไขอย่างรีบด่วน เช่น กรณีเขตพื้นที่อำเภอละหานทรายจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาและเป็นพื้นที่ยากจนในเขตอิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ขบวนการพัฒนาของรัฐยังเข้าไปไม่ถึง ในช่วงระยะเวลานั้น ภายหลังจากมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเข้าไปดำเนินการแล้ว ปัญหาความมั่นคงที่เคยมีอยู่ก็ลดน้อยถอยลงและหมดสิ้นไปในที่สุด แม้กระทั่งปัจจุบัน โครงการที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าและจะมีผลระยะยาวต่อไปคือ การแก้ไขปัญหาจราจรและการป้องกันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครเป็นต้น
การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น ประหยัด
ทั้งนี้ เพื่อให้มีรากฐานที่มั่นคงก่อน แล้วจึงดำเนินการเพื่อความเจริญก้าวหน้าในลำดับต่อๆ ไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นการพัฒนาที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในลักษณะการพึ่งตนเอง ทรงใช้คำว่า “ระเบิดจากข้างใน” นั่นคือ ทำให้ชุมชน หมู่บ้าน มีความเข้มแข็งก่อนแล้ว จึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหากับชุมชนหมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือราษฎรตามความจำเป็นและความเหมาะสมกับสถานภาพ เพื่อที่ราษฎรเหล่านั้นจะได้สามารถพึ่งตนเองได้ และออกมาสู่สังคมภายนอกได้อย่างไม่ลำบาก ดังแนวพระราชดำรัสต่อไปนี้
“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อนโดยใช้วิธีการ และอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วยก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยะประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้ การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเองย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงต่อไปโดยแน่นอน ส่วนการถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลวและเพื่อให้บรรลุผล สำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์…”
การพึ่งตนเอง
การพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นด้วยการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้มีความแข็งแรงที่จะมีแนวคิดในการดำรงชีวิตต่อไปแล้ว ขั้นต่อไปการพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพและสามารถ “พึ่งตนเองได้” ในที่สุดดังพระราชดำริตอนหนึ่ง ซึ่งขออัญเชิญมา ณ ที่นี้คือ
”… การเข้าใจถึงสถานการณ์ของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่สุด การช่วยเหลือให้เขา ได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับ ตามความจำเป็น อย่างเหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้นในการช่วยเหลือแต่ละคร้้งแต่ละกรณีจะเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการ และ ความจำเป็นก่อนและต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วย ให้เข้าใจด้วยว่าเขาอยู่ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใด อีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้นควรยึดหลักสำคัญว่าเราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป…”
ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เน้นหลัก “การพึ่งตนเอง” เพื่อพัฒนาแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร เช่น โครงการธนาคารข้าว โครงการธนาคารโค-กระบือ และโครงการพัฒนาที่ดินตาม พระราชประสงค์ “หุบกระพง” อำภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยทำกิน และรวมตัวกันในรูปของของกลุ่มสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน และการทำมาหากินร่วมกิน เป็นต้น นอกจากน้้น โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในระยะหลังก็ล้วนแต่เพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยตัวเองได้เพราะเป็นโครงการที่สนับสนุนให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพให้ได้ผล และมีประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรการให้การอบรมความรู้สาขาต่าง ๆ ทั้งด้านการเกษตร และศิลปาชีพพิเศษ เป็นต้น
การส่งเสริมความรู้ และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า ควรที่จะสร้างเสริมสิ่งที่ชาวบ้านชนบทขาดแคลน และเป็นความต้องการ ของชาวบ้าน ซึ่งก็คือความรู้ในการทามาหากิน การทาการ เกษตร โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พระองค์ทรงเน้นถึง ความจาเป็นที่จะต้องมี “ตัวอย่างของความสาเร็จ” มีพระราชประสงค์ที่จะให้ ราษฎรในชนบทมีโอาสได้รู้ได้เห็นถึงตัวอย่าง ของความสาเร็จนี้ และนาไปปฏิบัติได้เอง พระองค์จึงพระราชทานพระราชดาริ ให้จัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่อง มาจากพระราชดาริ” ขึ้นในทุกภูมิภาค ของประเทศ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา ทดลอง วิจัย และแสวงหาความรู้ เทคนิควิชาการ สมัยใหม่ที่ราษฎร “รับได้” นาไป “ดาเนินการเองได้” และเป็นวิธีการที่ “ประหยัด” เหมาะสม และสอดคล้อง กับสภาพแวดล้อม และ การประกอบอาชีพ ของราษฎรที่อาศัย อยู่ในภูมิประเทศนั้น ๆ เมื่อได้ผลจากการศึกษา แล้วจึงนาไปส่งเสริมให้เกษตรกร ได้ใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป พระองค์ทรงปราถนาที่จะใหัตัวอย่าของความสาเร็จทั้งหลาย ได้กระจายไปสู่ท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ และสามารถนาไปปฏิบัติได้ผลอย่างจริงจัง
การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เนื่องจากในการพัฒนาประเทศ ในระยะเวลาที่ผ่านมานั้นได้เน้นการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติกันอย่างฟุ่มเฟือยโดยมิได้มีการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ที่ถูกทำลายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม จนในที่สุดทรัพยากรธรรมชาติได้เสื่อมโทรมลงอย่างเห็นได้ชัดพระองค์ทรงเห็นว่าการพัฒนาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ จะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตรจึงทรงมุ่งที่จะให้มีการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในระยะยาว พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในการทำนุบำรุง ปรับปรุงสภาพ ของทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ และการประมง ให้อยู่ในสภาพที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด ดังนั้นจึงได้มีการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร โครงการพัฒนาที่ดิน โครงการพัฒนา และ รณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเน้นการ อนุรักษ์ดินและน้ำ ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อประโยชน์ในระยะยาว ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืนนั่นเอง
การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ช่วงแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (ปี 2530 – 2534) ปรากฏว่าเศรษฐกิจ ขยายตัวในอัตราที่สูงและรวดเร็ว โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนไป สู่การผลิตที่มีภาคอุตสาหกรรม และบริการเป็นหลักมีผลทำให้สังคมไทยเริ่มเปลี่ยนจากสังคมชนบท สู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ความเจริญส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่ในเมืองหลักๆ ในภูมิภาคต่างๆ และรอบกรุงเทพมหานคร ในขณะเดียวกัน ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความเสื่อมโทรม ของสภาพแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการกำจัดน้ำเสียใน กรุงเทพมหานครและในเมืองหลักในต่างจังหวัดด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้ผักตบชวาช่วยกรองความสกปรกในน้ำเสียการใช้น้ำดีขับไล่น้ำเสีย การใช้กังหันน้ำ พัฒนาเพื่อบำบัดน้ำเสีย รวมท้้งการกำจัดขยะอย่างถูกต้อง และไม่เป็นการทำลายสภาพแวดล้อม ทั้งในแหล่งน้ำใต้ดิน และสภาพทางอากาศด้วยเป็นต้น